logo ghg
  • Home
  • T-VER
  • Premium T-VER
  • LESS
  • JCM
  • CDM
  • ติดต่อเรา
  • SEARCH

การดำเนินการในประเทศไทย

ประเทศไทยได้ลงนามความตกลงทวิภาคีความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2558 นับเป็นประเทศที่ 16 โดยมีประเทศที่ได้ลงนามความตกลงฯ JCM แล้ว จำนวน 29 ประเทศ ได้แก่ ประเทศมองโกเลีย สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ ประเทศเอธิโอเปีย สาธารณรัฐเคนยา สาธารณรัฐมัลดีฟส์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐคอสตาริกา สาธารณรัฐปาเลา ราชอาณาจักรกัมพูชา สหรัฐเม็กซิโก ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย สาธารณรัฐชิลี สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ประเทศไทย ประเทศฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐเซเนกัล สาธารณรัฐตูนิเซีย สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน สาธารณรัฐมอลโดวา ประเทศจอร์เจีย สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน รัฐเอกราชปาปัวนิวกินี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สาธารณรัฐคีร์กีซ สาธารณรัฐคาซัคสถาน และประเทศยูเครน

พิธีลงนามความตกลงฯ JCM เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2558 ณ กระทรวงสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศญี่ปุ่น กรุงโตเกียว
ระหว่าง พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 
กับ H.E. Ms. Tamayo Marukawa รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศญี่ปุ่น

รูปจากฝ่ายญี่ปุ่น 2558

    เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2560 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาความตกลงฯ ซึ่งสิ้นสุดลง
เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2559 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2573

และ เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2567 ได้มีพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือว่าด้วยกลไกเครดิตร่วมระหว่างรัฐบาลแห่ง
ราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น ณ ห้องประชุม ชั้น 20 อาคารกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเทศไทย
ระหว่าง พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม กับ H.E. Mr. Otaka Masato เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอานาจเต็มแห่งญี่ปุ่นประจาราชอาณาจักรไทย

รูปลงนาม 2567

สามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ที่: https://www.jcm.go.jp/th-jp/information/516 
(Memorandum of Cooperation on the Joint Crediting Mechanism between the Government of Japan and the Government of the Kingdom of Thailand)

  • Hits: 14789

website ที่เกี่ยวข้อง

นอกจากประเทศไทยแล้ว มีประเทศอื่นที่ได้ทำความตกลงทวิภาคีความร่วมมือกลไกเครดิตร่วม (Joint Crediting Mechanism: JCM) กับประเทศญี่ปุ่นอีกจำนวน 16 ประเทศ ได้แก่ ประเทศมองโกเลีย สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ ประเทศเอธิโอเปีย สาธารณรัฐเคนยา สาธารณรัฐมัลดีฟส์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สาธารณรัฐคอสตาริกา สาธารณรัฐปาเลา ราชอาณาจักรกัมพูชา สหรัฐเม็กซิโก ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย สาธารณรัฐชิลี สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ท่านสามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินงานภายใต้กลไกเครดิตร่วม (JCM) ของประเทศต่าง ๆ ได้จากเว็ปไซต์ของสำนักเลขาธิการ JCM ของฝ่ายญี่ปุ่น และสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้ทุน JCM Model Project และ JFJCM จากเว็บไซต์ของ Global Environment Centre Foundation (GEC) และ Asian Development Bank (ADB)

สำนักเลขาธิการ JCM ของฝ่ายญี่ปุ่น https://www.jcm.go.jp
สำนักเลขาธิการ JCM ของประเทศอินโดนีเซีย http://jcm.ekon.go.id/en
หน่วยงานที่ให้ทุน JCM Model Project http://gec.jp/jcm
หน่วยงานที่ให้ทุน Japan Fund for the Joint Crediting Mechanism (JFJCM) https://www.adb.org/site/funds/funds/japan-fund-for-joint-crediting-mechanism

  • Hits: 5239

คณะกรรมการร่วม

      องค์ประกอบคณะกรรมการร่วม (Joint Committee) ฝ่ายไทย มีดังนี้

รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ได้รับมอบหมาย ประธานกรรมการร่วม
อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน หรือผู้แทน กรรมการร่วม
อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือผู้แทน กรรมการร่วม
อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ หรือผู้แทน กรรมการร่วม
เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือผู้แทน กรรมการร่วม
ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือผู้แทน กรรมการร่วม
อธิบดีกรมเอเชียตะวันออก หรือผู้แทน กรรมการร่วม
อธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม หรือผู้แทน กรรมการร่วมและเลขานุการ
ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)  กรรมการร่วมและเลขานุการ
เจ้าหน้าที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ผู้ช่วยเลขานุการ

      องค์ประกอบคณะกรรมการร่วม (Joint Committee) ฝ่ายญี่ปุ่น มีดังนี้

ผู้แทน Embassy of Japan in Thailand ประธานกรรมการร่วม
ผู้แทน Ministry of Foreign Affairs กรรมการร่วม
ผู้แทน Ministry of Economy, Trade and Industry กรรมการร่วม
ผู้แทน Ministry of the Environment กรรมการร่วม
ผู้แทน Forestry Agency กรรมการร่วม
ผู้แทน Embassy of Japan in Thailand กรรมการร่วมและเลขานุการ

โดยระเบียบวิธีปฏิบัติของคณะกรรมการร่วม (Joint Committee) สำหรับกลไกเครดิตร่วม
สามารถดาวน์โหลดได้ที่: https://www.jcm.go.jp/th-jp/information/516 
(Attachment 3 Rules of Procedures of the Joint Committee for the Joint Crediting Mechanism)

  • Hits: 10790

JCM คือ อะไร

กลไกเครดิตร่วม (Joint Crediting Mechanism) เรียกโดยย่อว่า JCM เป็นกลไกแบบทวิภาคีที่ประเทศญี่ปุ่นได้ริเริ่มขึ้นเพื่อช่วยให้ประเทศที่มีความร่วมมือสามารถใช้เทคโนโลยีคาร์บอนต่ำในการทำโครงการลดก๊าซเรือนกระจกโดยการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลญี่ปุ่น กลไก JCM บริหารงานโดยคณะกรรมการร่วม (Joint committee) ซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการจากประเทศญี่ปุ่นและประเทศที่มีความร่วมมือ การทำโครงการลดก๊าซเรือนกระจกต้องมีการตรวจวัด รายงานผล และทวนสอบ (Measurement, Reporting and Verification: MRV) เพื่อให้ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้มีความน่าเชื่อถือ คณะกรรมการร่วมเป็นผู้ให้การรับรองระเบียบวิธีการลดก๊าซเรือนกระจก (methodology) ซึ่งใช้ในการคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ ขึ้นทะเบียนและให้การรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่โครงการลดได้ หรือที่เรียกว่า คาร์บอนเครดิต ทั้งนี้ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ที่ผ่านการรับรองแล้วสามารถนำไปใช้ในการบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) 

โครงการ JCM ภายใต้ Premium T-VER หมายถึง โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้กลไกเครดิตร่วม (Joint Crediting Mechanism:JCM) ที่ดำเนินการขึ้นทะเบียนและรับรองคาร์บอนเครดิตตามหลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการ T-VER มาตรฐานขั้นสูง 

jcm info

 

  • Hits: 33113

ระเบียบวิธีการ