ลักษณะการดำเนินโครงการ T-VER สามารถดำเนินการได้ 3 รูปแบบ ได้แก่
1. โครงการเดี่ยว (single Project)
โครงการที่ดำเนินกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกในที่ตั้งแห่งเดียว
2. โครงการแบบควบรวม (Bundling Projects)
โครงการที่ดำเนินกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกเช่นเดียวกัน ประเภทเดียวกัน โดยมีที่ตั้งหลายแห่ง และมีช่วงระยะเวลาในการคิดเครดิตเหมือนกัน ผู้พัฒนาโครงการสามารถใช้เอกสารข้อเสนอโครงการฉบับเดียวในการยื่นขอขึ้นทะเบียนโครงการ โดยมีข้อกำหนด ดังนี้
- ผู้พัฒนาโครงการต้องระบุรายละเอียดของโครงการย่อยทุกโครงการในเอกสารข้อเสนอโครงการ เช่น จำนวนโครงการย่อย ที่ตั้งของแต่ละโครงการย่อย เทคโนโลยีที่ใช้ กำลังการผลิตติดตั้ง เป็นต้น
- ใช้ระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ (T-VER Methodology) เหมือนกัน เวอร์ชั่นเดียวกัน
- กรณีที่ขนาดรวมของโครงการทั้งหมดเข้าข่ายโครงการขนาดใหญ่ โครงการต้องผ่านการพิสูจน์การดำเนินงานเพิ่มจากการดำเนินงานตามปกติ (Additionality) หรือจัดเป็นโครงการ Positive list
3. โครงการแบบแผนงาน (Programme of Activities: PoA)
รูปแบบโครงการเป็นการดำเนินโครงการลดก๊าซเรือนกระจกแบบมีกรอบแผนงาน และมีโครงการย่อย ที่มีที่ตั้งหลายแห่ง ประเภทโครงการเหมือนกัน และสามารถกำหนดระยะเวลาคิดเครดิตแต่ละกลุ่มโครงการย่อย ไม่เหมือนกันได้ โดยมีข้อกำหนดการพัฒนาโครงการแบบแผนงาน ดังนี้
- ระบุกรอบแผนงานโครงการ (T-VER PoA) อย่างชัดเจน และใช้แบบฟอร์มตามที่ อบก. กำหนด
- โครงการมีที่ตั้งได้หลายแห่ง และสามารถรวมกับเป็นกลุ่มๆ ได้ โดยแต่และกลุ่มอาจมีโครงการเดียว หรือ หลายโครงการ จะเรียกว่า "กลุ่มโครงการย่อย (Component Project Activities: CPA)
- การตรวจสอบว่าโครงการพัฒนาเป็นโครงการ T-VER ได้หรือไม่ และการกำหนดวันเริ่มคิดเครดิต ของกลุ่มโครงการย่อย ให้ใช้หลักเกณฑ์เดียวกับกับโครงการแบบเดี่ยว
- ทุกกลุ่มโครงการย่อยต้องใช้ระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ (T-VER Methodology) เหมือนกัน เวอร์ชั่นเดียวกัน
- กลุ่มโครงการย่อย ต้องเป็นโครงการขนาดเล็กมาก (Micro scale) และทุกโครงการย่อยรวมกันแล้ว โครงการแบบแผนงาน (T-VER PoA) ต้องไม่เข้าข่ายโครงการขนาดใหญ่
- สามารถเพิ่มกลุ่มโครงการย่อยได้เรื่อยๆ ภายในอายุของกรอบแผนงาน ที่ อบก. กำหนด และแต่ละกลุ่มโครงการย่อยมีระยะเวลาคิดเครดิตแตกต่างกันได้
- โครงการต้องขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER แบบแผนงาน พร้อมกับกลุ่มโครงการย่อย ที่ 1 โดยใช้แบบฟอร์มเอกสารข้อเสนอโครงการตามที่ อบก. กำหนด และต้องผ่านการตรวจสอบความใช้ได้ (Validation) จากผู้ประเมินภายนอก
- สามารถเพิ่มกลุ่มโครงการย่อย ที่ 2, 3, 4,...n ได้ โดยจัดทำเอกสารข้อเสนอโครงการตามที่ อบก. กำหนด และส่งไปยัง อบก. เพื่อขอขึ้นทะเบียนกลุ่มโครงการย่อยเพิ่มเติม โดยไม่ต้องต้องผ่านการตรวจสอบความใช้ได้ (Validation) จากผู้ประเมินภายนอก
- การขอรับรองคาร์บอนเครดิต ผู้พัฒนาโครงการต้องจัดทำรายงานการติดตามประเมินผลของทุกกลุ่มโครงการย่อย และต้องผ่านการทวนสอบ (Verification) จากผู้ประเมินภายนอก และส่งไปยัง อบก. เพื่อขอรับรองคาร์บอนเครดิต
ขั้นตอนการพัฒนาโครงการ T-VER แบบแผนงาน (T-VER PoA)