โครงการที่จะผ่านการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นโครงการ T-VER ต้องผ่านหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนทั้ง 6 ข้อ ดังนี้
- ดำเนินกิจกรรมของโครงการเป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง และมีการดำเนินงานสอดคล้องตามแนวทางการพัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER)
- มีการดำเนินงานเข้าข่ายโครงการลดก๊าซเรือนกระจกที่ไม่ต้องพิสูจน์ส่วนเพิ่มเติม (Positive List) หรือมีการดำเนินงานเพิ่มเติมจากการดำเนินงานตามปกติ (Additionality) ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ อบก. กำหนด
- สอดคล้องกับระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ (T-VER Methodology) ตามที่คณะกรรมการ อบก. กำหนด
- ประเมินศักยภาพการลดหรือกักเก็บก๊าซเรือนกระจกของโครงการเป็นไปตามระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ (T-VER Methodology)
- ต้องได้รับการตรวจสอบความใช้ได้ (Validation) จากผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากคณะกรรมการ อบก.
- ใช้วิธีการติดตามผล และรายงานการลดก๊าซเรือนกระจกตามระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ (T-VER Methodology)
การขอขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER ผู้พัฒนาโครงการจะต้องจัดเตรียมเอกสารประกอบโครงการตามที่ อบก. กำหนด ต้องมีการตรวจสอบความใช้ได้ (Validation) โครงการ โดยผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจ (Validation and Verification Body: VVB) จากนั้น ผู้พัฒนาโครงการเป็นผู้ยื่นเอกสารต่างๆ ไปยัง อบก. เพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็นโครงการ T-VER ดังนี้
เอกสาร |
จำนวน |
1. ใบสมัครขอขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER |
1 ชุด |
2. เอกสารข้อเสนอโครงการ (Project Design Document: PDD) (ที่ผ่านการตรวจสอบความใช้ได้จากผู้ประเมินภายนอกฯ) |
1 ชุด |
3. รายงานการตรวจสอบความใช้ได้ (Validation Report)(ผู้ประเมินภายนอกฯ เป็นผู้ออกให้) |
1 ชุด |
4. รายงานการประเมินผลประโยชน์ร่วม (Co-benefit Report) |
1 ชุด |
5. ไฟล์การคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจกของโครงการ |
1 ชุด |
6. - รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA)
- รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environmental Examination: IEE)
- รายงานเกี่ยวกับการศึกษามาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย (Environmental and Safety Assessment Report: ESA)
- ประมวลหลักการปฏิบัติ (Code of Practice: CoP)
ตามที่มีกฎหมายกำหนดไว้ (หากมี) |
1 ชุด |
7. สำเนาเอกสารรับรองการเป็นนิติบุคลตามประเภทนิติบุคคล (ทุกรายที่เป็นเจ้าของโครงการและผู้พัฒนาโครงการ) |
1 ชุด |
8. แผ่น หรืออุปกรณ์บันทึกข้อมูล (กรณีส่งทางไปรษณีย์) |
1 ชุด |
คลิก ดาวน์โหลดแบบฟอร์มประกอบการขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER
การเพิกถอนการขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER
- อบก. สามารถเพิกถอนการขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER ได้ เมื่อพบว่าการดำเนินกิจกรรมของโครงการขัดต่อกฎหมาย หรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง
- อบก. สามารถเพิกถอนการขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER ได้ เมื่อโครงการไม่มีการดำเนินโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหลังจากได้รับการขึ้นทะเบียนโครงการ ภายใน 2 ปี
- ผู้พัฒนาโครงการสามารถขอยกเลิกการขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER เมื่อใดก็ได้
- ในกรณีที่ผู้พัฒนาโครงการต้องการนำโครงการ T-VER ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว ไปขึ้นทะเบียนโครงการลดก๊าซเรือนกระจกกับกลไกหรือมาตรฐานอื่น ให้ผู้พัฒนาโครงการถอนการขึ้นทะเบียนโครงการภายใน 30 วันทำการ หลังจากได้รับการขึ้นทะเบียนกับกลไกหรือมาตรฐานอื่นแล้ว หรือ มีหนังสือแจ้งยกเลิกโครงการ T-VER ไปยัง อบก. ก่อนขึ้นทะเบียนโครงการกับกลไกหรือมาตรฐานอื่น
- ผู้ที่แจ้งข้อมูลต่อ อบก. อันเป็นเท็จ อบก. ขอสงวนสิทธิ์ที่จะดำเนินการตามบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- กรณีคณะกรรมการ อบก. เพิกถอนการขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER ผู้พัฒนาโครงการหรือเจ้าของโครงการสามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วันทำการ นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
การต่ออายุโครงการ (Renewal of crediting period)
การต่ออายุโครงการ T-VER จะแบ่งเงื่อนไขการต่ออายุโครงการตามประเภทโครงการ ดังตาราง
ประเภทโครงการ
|
การต่ออายุโครงการ
|
เงื่อนไข/หลักเกณฑ์
|
จำนวนปี/จำนวนครั้ง
|
|
ต่ออายุได้ 1 ครั้ง
(ระยะเวลา 7 ปี)
|
เมื่อได้รับคำขอต่ออายุโครงการจากผู้พัฒนาโครงการ/เจ้าของโครงการ T-VER เจ้าหน้าที่ อบก. จะลงพื้นที่โครงการ เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ เหมาะสม และพอเพียง ตามหลักเกณฑ์โครงการ และระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจกฯ ก่อนนำเสนอคณะกรรมการ อบก. เพื่อพิจารณาต่ออายุโครงการ
ทั้งนี้ ภายหลังจากการต่ออายุโครงการแล้ว 1 ครั้ง โครงการยังมีศักยภาพในการลดก๊าซเรือนกระจกอยู่ ผู้พัฒนาโครงการ/เจ้าของโครงการ T-VER สามารถยื่นคำขอขึ้นทะเบียนโครงการใหม่ได้ โดยปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนการขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER โดยยกเว้นการพิจารณาเงื่อนไขการดำเนินโครงการย้อนหลังไม่เกิน 3 ปี
|
|
|
|
การเกษตร
|
ต่ออายุได้ครั้งละ 7 ปี
(ไม่จำกัดจำนวนครั้ง)
|
เมื่อได้รับคำขอต่ออายุโครงการจากผู้พัฒนาโครงการ/เจ้าของโครงการ T-VER เจ้าหน้าที่ อบก. จะลงพื้นที่โครงการ เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ เหมาะสม และพอเพียง ตามหลักเกณฑ์โครงการ และระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจกฯ ก่อนนำเสนอคณะกรรมการ อบก. เพื่อพิจารณาต่ออายุโครงการ
|
การปลูกป่า/ต้นไม้
|
ต่ออายุได้ครั้งละ 10 ปี
(ไม่จำกัดจำนวนครั้ง)
|
เมื่อได้รับคำขอต่ออายุโครงการจากผู้พัฒนาโครงการ/เจ้าของโครงการ T-VER เจ้าหน้าที่ อบก. จะลงพื้นที่โครงการ เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ เหมาะสม และพอเพียง ตามหลักเกณฑ์โครงการ และระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจกฯ ก่อนนำเสนอคณะกรรมการ อบก. เพื่อพิจารณาต่ออายุโครงการ
|
การอนุรักษ์หรือฟื้นฟูป่า
|
วิธีการส่งเอกสารการสมัครขอขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER
- ส่งทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) สารบรรณ อบก. e-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
- ส่งเอกสารทางระบบสมัครออนไลน์ Link: http://ghgreduction.tgo.or.th/th/regis-t-ver-project/application-form-t-ver.html