ระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ (T-VER Methodology) คือ วิธีที่ใช้ในการคำนวณการลด/กักเก็บก๊าซเรือนกระจกของโครงการ T-VER โดยแบ่งตามประเภทโครงการและขอบข่ายของกิจกรรมการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งผู้พัฒนาโครงการต้องเลือกใช้ระเบียบวิธีฯ ให้สอดคล้องกับกิจกรรมการลดก๊าซเรือนกระจกของโครงการ โดยระเบียบวิธีฯ สามารถแบ่งออกเป็น 16 ขอบข่ายตามลักษณะของกิจกรรมการลดก๊าซเรือนกระจก ดังนี้
สาขาและขอบข่าย |
01 |
อุตสาหกรรมด้านพลังงาน |
Energy industries |
02 |
การส่งจ่ายพลังงาน |
Energy distribution |
03 |
ความต้องการการใช้พลังงาน |
Energy demand |
04 |
อุตสาหกรรมการผลิต |
Manufacturing industries |
05 |
อุตสาหกรรมเคมี |
Chemical industry |
06 |
การก่อสร้าง |
Construction |
07 |
การขนส่ง |
Transport |
08 |
การทำเหมืองและการผลิตแร่ |
Mining and mineral production |
09 |
อุตสาหกรรมการผลิตโลหะ |
Metal Production |
10 |
การรั่วไหลของก๊าซเรือนกระจกจากเชื้อเพลิง |
Fugitive emissions from fuels |
11 |
การรั่วไหลของก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตและการใช้แฮโลคาร์บอนและซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ |
Fugitive emissions from production and consumption of halocarbons and sulphur hexafluoride |
12 |
การใช้สารละลาย |
Solvents use |
13 |
การจัดการและกำจัดของเสีย |
Waste handling and disposal |
14 |
การปลูกป่าและการฟื้นฟูป่า |
Afforestation and reforestation |
15 |
การเกษตร |
Agriculture |
16 |
การดักจับและเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ใต้พื้นดิน |
Carbon capture and storage of CO2 in geological formations |
อ้างอิงการแบ่งขอบข่ายตามประกาศคณะกรรมการการมาตรฐานแห่งชาติเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับรองระบบงานหน่วยตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบก๊าซเรือนกระจก