หน้าที่ของผู้พัฒนาโครงการ
- ผู้พัฒนาโครงการฝ่ายไทยมีหน้าที่ติดตั้งเครื่องจักร อุปกรณ์ ดำเนินโครงการ และตรวจวัดค่าของพารามิเตอร์ตามที่ระเบียบวิธีการลดก๊าซเรือนกระจกที่เลือกใช้กำหนด เช่น โครงการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ต้องตรวจวัดปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้ตลอดอายุโครงการเป็นเวลา 10-17 ปี
- ส่วนผู้พัฒนาโครงการฝ่ายญี่ปุ่นมีหน้าที่บริหารโครงการและรายงานผลการตรวจวัดค่าของพารามิเตอร์ให้กับ Global Environment Centre Foundation (GEC) และจัดส่งเอกสารข้อเสนอโครงการและแผนการติดตามประเมินผล รายงานการประเมินการพัฒนาที่ยั่งยืนและการป้องกันผลกระทบด้านลบที่ แบบฟอร์มสัดส่วนการแบ่งปันคาร์บอนเครดิต และเอกสารประกอบตามความเหมาะสม เพื่อขอขึ้นทะเบียนโครงการที่ได้รับการตรวจสอบความใช้ได้ (validation) ไปยังฝ่ายเลขานุการฯ เพื่อขอขึ้นทะเบียนโครงการ
เอกสารประกอบแนวคิดโครงการ (Project Idea Note: PIN)
- กรณี Private JCM
ผู้พัฒนาโครงการที่ต้องการขอขึ้นทะเบียนโครงการเป็นโครงการ JCM ภายใต้ Premium T-VER จัดเตรียม PIN โดยใช้แบบฟอร์ม “JCM Project Idea Note” ฉบับล่าสุด และส่งให้กับคณะกรรมการร่วมผ่านสำนักเลขาธิการ ก่อนที่จะเริ่มดำเนินโครงการ
- กรณี JCM Model Project
ในกรณีที่ผู้พัฒนาโครงการคาดว่าจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลญี่ปุ่น ควรให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องในรัฐบาลญี่ปุ่นเป็นผู้ส่ง PIN ไปยังคณะกรรมการร่วมผ่านสำนักเลขาธิการ
การพัฒนาระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจก (Methodology)
- ผู้พัฒนาโครงการอาจเสนอระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจกซึ่งสอดคล้องกับแนวทาง JCM ภายใต้ Premium T-VER ไปยังรัฐบาลญี่ปุ่นผ่านสำนักเลขาธิการของญี่ปุ่น และรัฐบาลไทยผ่าน อบก. หรืออาจขอให้รัฐบาลญี่ปุ่นรับรองระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจกที่รัฐบาลไทย โดยดำเนินการผ่าน อบก. ได้รับรองแล้วภายใต้กลไก Premium T-VER หรือใช้ระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลญี่ปุ่นและรัฐบาลไทย โดยดำเนินการผ่าน อบก. เท่านั้น
การขึ้นทะเบียน (Registration)
- ผู้พัฒนาโครงการยื่น PDD ซึ่งผ่านการตรวจสอบความใช้ได้โดยผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจ รายงานการตรวจสอบความใช้ได้ รายงานการประเมินการพัฒนาที่ยั่งยืนและการป้องกันผลกระทบด้านลบที่ผ่านการตรวจสอบแล้ว แบบฟอร์มสัดส่วนการแบ่งปันคาร์บอนเครดิต และเอกสารประกอบตามความเหมาะสม ให้กับรัฐบาลญี่ปุ่นและรัฐบาลไทย โดยดำเนินการผ่าน อบก. เพื่อขอขึ้นทะเบียนโครงการ
- ผู้พัฒนาโครงการอาจยื่นคำขอออกหนังสืออนุญาตการใช้คาร์บอนเครดิตเพื่อวัตถุประสงค์ระหว่างประเทศ (Letter of Authorization: LoA) ต่อรัฐบาลไทย โดยดำเนินการผ่าน สส.
- หลังจากขึ้นทะเบียนโครงการแล้ว ให้ผู้พัฒนาโครงการจัดทำและส่งรายงานความก้าวหน้าเพื่อแจ้งความคืบหน้าของสถานะปัจจุบันของโครงการ JCM ต่อสำนักเลขาธิการเป็นประจำทุกปี จนกระทั่งสิ้นสุดอายุการดำเนินงานของโครงการ JCM หรือสิ้นสุดระยะเวลาคิดเครดิต แล้วแต่กรณีใดจะเกิดขึ้นก่อน
- ผู้พัฒนาโครงการฝ่ายไทยต้องบันทึกค่าของพารามิเตอร์ที่ตรวจวัดในแผ่นงานของไฟล์แผนงานการติดตามประเมินผลโครงการที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเพื่อจัดทำรายงานการติดตามประเมินผลโครงการ นับตั้งแต่วันที่เริ่มดำเนินโครงการตามที่ระบุในเอกสารข้อเสนอโครงการ
การตรวจวัด (Monitoring)
- ผู้พัฒนาโครงการดำเนินโครงการ JCM และติดตามผลการลดการปล่อยหรือกักเก็บก๊าซเรือนกระจกภายใต้โครงการตามที่ระบุไว้ใน PDD รวมถึงผลของการดำเนินการเพื่อป้องกันผลกระทบด้านลบและการสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
การตรวจสอบความใช้ได้ (Validation)
- พัฒนาโครงการที่มีความประสงค์จะขอขึ้นทะเบียนโครงการเป็นโครงการ JCM ภายใต้ PremiumT-VER จะต้องจัดให้มีตรวจสอบความใช้ได้ของโครงการ
การทวนสอบ (Verification)
- ให้ผู้พัฒนาโครงการจัดทำรายงานการติดตามประเมินผลปริมาณก๊าซเรือนกระจก และขอให้ผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจดำเนินการทวนสอบ
ทั้งนี้ผู้พัฒนาโครงการฝ่ายไทยและฝ่ายญี่ปุ่นต้องให้ข้อมูลที่จำเป็นแก่ที่ปรึกษาโครงการและผู้ตรวจสอบประเมินโครงการในขั้นตอนการตรวจสอบความใช้ได้ (validation) และการทวนสอบความถูกต้อง (verification)
การรับรองคาร์บอนเครดิต (Registration)
- ผู้พัฒนาโครงการส่งแบบฟอร์มคำขอรับรองคาร์บอนเครดิต ซึ่งรวมถึงปริมาณคาร์บอนเครดิตที่แบ่งปันตามสัดส่วนการแบ่งปันคาร์บอนเครดิต รายงานการติดตามประเมินผลปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ผ่านการทวนสอบแล้ว รายงานการทวนสอบ รายงานการติดตามประเมินผลการพัฒนาที่ยั่งยืนและการป้องกันผลกระทบด้านลบที่ได้รับการตรวจสอบแล้ว รายงานการติดตามประเมินผลความเสี่ยงต่อการสูญเสียคาร์บอนจากความไม่ถาวรของโครงการ หากมี และเอกสารจำเป็นอื่น ๆ ให้กับรัฐบาลญี่ปุ่นและรัฐบาลไทย โดยดำเนินการผ่าน อบก. เพื่อขอรับการรับรองคาร์บอนเครดิต
- ผู้พัฒนาโครงการส่งคำขอหนังสืออนุญาตให้ใช้คาร์บอนเครดิตเพื่อวัตถุประสงค์ระหว่างประเทศ (Letter of fulfillment of authorization) ให้รัฐบาลไทยพิจารณา โดยดำเนินการผ่าน สส.
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: https://www.jcm.go.jp/th-jp/information/516