ผู้ตรวจประเมินโครงการสำหรับกลไกเครดิตร่วม (Third Party Entity: TPE)
>> สำหรับโครงการที่คงค้างอยู่ในระบบ JCM
ผู้ตรวจประเมินโครงการ คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ในการตรวจสอบเอกสารข้อเสนอโครงการ และทวนสอบปริมาณก๊าซเรือนกระจก ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการร่วมฯ กำหนด โดยผู้ตรวจประเมินโครงการสำหรับโครงการ JCM จะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนจากคณะกรรมการร่วมฯ
ผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจ (Validation and Verification Body: VVB)
>> สำหรับโครงการที่จะดำเนินการกลไก JCM ภายใต้ Premium T-VER
ผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจ (Validation and Verification Body: VVB) คือ นิติบุคคลที่สาม (Third Party) ที่ดำเนินการด้วยความเป็นกลาง มีมาตรฐานการทำงานอย่างเป็นระบบได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการว่าหน่วยรับรองมีความสามารถในการดำเนินการตรวจสอบความใช้ได้และการทวนสอบ โดยต้องได้รับการรับรองระบบงาน (Accreditation) สำหรับหน่วยตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบก๊าซเรือนกระจกระจกตามมาตรฐาน ISO 14065: 2013 หรือ มอก.14065 พ.ศ.2556 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ข้อกำหนดสำหรับหน่วยตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบก๊าซเรือนกระจก และ IAF MD 6: 2014 หรือการยอมรับในรูปแบบอื่นๆ (Requirements for Greenhouse Gas Validation and Verification Bodies for Use in Accreditation or Other Forms of Recognition) และต้องได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก.
ผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจ มีหน้าที่ออกถ้อยแถลงให้การรับรองผลในการตรวจสอบความใช้ได้ของเอกสารข้อเสนอโครงการ (Project Design Document: PDD) เพื่อขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER หรือทวนสอบรายงานการติดตามประเมินผล (Monitoring Report: MR) เพื่อรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระที่ลดหรือกักเก็บได้ (คาร์บอนเครดิต) ตามหลักเกณฑ์ที่ อบก. กำหนด
ขอบข่ายการขึ้นทะเบียนผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจ
อ้างอิงตามขอบข่ายการรับรองระบบงานจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) โดยการกําหนดสาขาและขอบข่ายในการรับรองระบบงานหน่วยงานตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบก๊าซเรือนกระจกของ สมอ.อ้างอิงเอกสารขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการรับรองระบบงาน (IAF Mandatory Document – Application of ISO/IEC 17011 in Greenhouse Gas Validation and Verification (ISO 14065))
1 |
อุตสาหกรรมด้านพลังงาน |
(Energy industries) |
2 |
การส่งจ่ายพลังงาน |
(Energy distribution) |
3 |
ความต้องการการใช้พลังงาน |
(Energy demand) |
4 |
อุตสาหกรรมการผลิต |
(Manufacturing industries) |
5 |
อุตสาหกรรมเคมี |
(Chemical industry) |
6 |
การก่อสร้าง |
(Construction) |
7 |
การขนส่ง |
(Transport) |
8 |
การทำเหมืองและการผลิตแร่ |
(Mining and mineral production) |
9 |
อุตสาหกรรมการผลิตโลหะ |
(Metal Production) |
10 |
การรั่วไหลของก๊าซเรือนกระจกจากเชื้อเพลิง |
(Fugitive emissions from fuels) |
11 |
การรั่วไหลของก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตและการใช้แฮโลคาร์บอนและซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ |
(Fugitive emissions from production and consumption of halocarbons and sulphur hexafluoride) |
12 |
การใช้สารละลาย |
(Solvents use) |
13 |
การจัดการและกำจัดของเสีย |
(Waste handling and disposal) |
14 |
การปลูกป่าและการฟื้นฟูป่า |
(Afforestation and reforestation) |
15 |
การเกษตร |
(Agriculture) |
16 |
การดักจับและเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ใต้พื้นดิน |
(Carbon capture and storage of CO2 in geological formations) |
ทีมผู้ตรวจสอบความใช้ได้และผู้ทวนสอบ (Validator and verifier team)
ทีมผู้ตรวจสอบความใช้ได้และผู้ทวนสอบ (Validator and verifier team) คือ บุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถและมีทักษะสอดคล้องตามข้อกำหนด ISO 14066: 2011 และเพียงพอกับกระบวนการตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบก๊าซเรือนกระจก และได้รับมอบหมายจากหน่วยงานผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจให้ทำหน้าที่ในการให้ความเห็นที่เป็นอิสระต่อข้อมูลที่ผู้พัฒนาโครงการได้อธิบายไว้ในเอกสารข้อเสนอโครงการ หรือรายงานการติดตามประเมินผลปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
กระบวนการตรวจสอบความใช้ได้ (Validation) และการทวนสอบ (Verification) ของ ทีมผู้ตรวจสอบความใช้ได้และผู้ทวนสอบ (Validator and verifier team) ต้องมีความสอดคล้องตามมาตรฐานแนวทางข้อกำหนดและข้อแนะนำสำหรับการตรวจสอบความใช้ได้และการทวนสอบก๊าซเรือนกระจก ISO 14046-3: 2006 และแนวทางการตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบก๊าซเรือนกระจกที่ อบก.กำหนด