หลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนผู้ตรวจประเมินโครงการ (Third Party Entity: TPE) ภายใต้กลไก JCM
คณะกรรมการร่วมฯ ได้รับรองแนวทางการขึ้นทะเบียนผู้ตรวจประเมินโครงการ (Third Party Entity: TPE) ภายใต้กลไก JCM (JCM Guidelines for Designation as a Third-Party Entity) เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2559 ซึ่งกำหนดคุณสมบัติของบริษัทที่สามารถเป็นผู้ตรวจประเมินโครงการไว้ ดังนี้
- Entities accredited under ISO 14065 by an accreditation body that is a member of the International Accreditation Forum (hereinafter referred to as “IAF”) based on ISO 14064-2; or
Designated Operational Entities (hereinafter referred to as “DOEs”) or operational entities accredited by the Executive Board under the Clean Development Mechanism (hereinafter referred to as “CDM”).
หลักเกณฑ์การพิจารณาผู้ประเมินภายนอก >> สำหรับโครงการ JCM ภายใต้ Premium T-VER
การขึ้นทะเบียนผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจ
ผู้มีสิทธิยื่นคำขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
(1) เป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย กรณีเป็นนิติบุคคลต่างด้าวต้องได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว และมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
(ก) นิติบุคคลที่เป็นหน่วยปฏิบัติการในการตรวจสอบ (Designated Operational Entities: DOEs) ภายใต้กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM)
(ข) นิติบุคคลที่ได้รับการรับรองระบบงานตามมาตรฐาน ISO 14065 จากหน่วยงานรับรองระบบงานของต่างประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการรับรองระบบงาน
(ค) นิติบุคคลที่ได้รับการรับรองระบบงานหน่วยตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบก๊าซเรือนกระจกจากคณะกรรมการรับรองหน่วยรับรองและหน่วยตรวจ
ผู้มีสิทธิยื่นคำขอขึ้นทะเบียนผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจ
ยื่นแบบคำขอพร้อมทั้งเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้องต่อ TGO ผ่านช่องทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ TGO จัดไว้ดังนี้
(1) คำขอขึ้นทะเบียนผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจ
(2) สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิของนิติบุคคล และหนังสือรับรองนิติบุคคลตามประเภทนิติบุคคล หรือสำเนาใบอนุญาตการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
(3) สำเนาใบรับรองหรือใบอนุญาตจากคณะกรรมการรับรองหน่วยรับรองและหน่วยตรวจ หรือสำเนาใบรับรองหรือใบอนุญาตเป็นหน่วยปฏิบัติการในการตรวจสอบ (Designated Operation Entities: DOE) หรือสำเนาใบรับรองระบบงานตามมาตรฐาน ISO 14065 จากหน่วยงานรับรองระบบงาน (Accreditation Body)
(4) เอกสารแสดงรายชื่อและประวัติเจ้าหน้าที่ที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบปริมาณก๊าซเรือนกระจกตามสาขาและขอบข่ายที่ได้รับการรับรองระบบงานหรือได้รับอนุญาต
(5) เอกสารหลักฐานที่แสดงว่าเจ้าที่ที่เป็นผู้ตรวจสอบความใช้ได้และทวนสอบปริมาณก๊าซเรือนกระจกของตนได้ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการเป็นผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจอย่างน้อย 1 หลักสูตร โดยหลักสูตรนั้นเป็นที่ยอมรับของ TGO (โดยมีระยะเวลาการอบรมต่อเนื่องอย่างน้อย 10 ชั่วโมง) หรือผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรอื่นตามที่องค์การกำหนด
สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่:
https://tver.tgo.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=434&Itemid=724&lang=th