โครงการที่ต้องการรับทุนสนับสนุนจากญี่ปุ่นนั้นจะต้องมีลักษณะตามเงื่อนไขในการคัดเลือกข้อเสนอโครงการตามแนวทางของ GEC และแนวทางและกลไกการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิต ดังนี้
1. เงื่อนไขในการคัดเลือกข้อเสนอโครงการที่ขอรับทุนตามแนวทางของ GEC
การคัดเลือกโครงการที่จะให้ทุนพิจารณาหลักเกณฑ์ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ ผ่าน/ไม่ผ่าน และการให้คะแนนมาก/น้อย โดยพิจารณาความเป็นไปได้ที่ผู้พัฒนาโครงการจะสามารถพัฒนาโครงการได้สำเร็จและทำให้เกิดการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ตามที่คาดการณ์ไว้ เช่น มีแผนงานที่ชัดเจน มีความน่าเชื่อถือ สามารถดำเนินโครงการได้โดยไม่มีความเสี่ยง (ตัวอย่างความเสี่ยง เช่น ความไม่แน่นอนของกำลังการผลิตของอุตสาหกรรมบางประเภท) นอกจากนี้ยังพิจารณาความคุ้มค่าในการให้การสนับสนุนซึ่งคำนวณได้จากปริมาณเงินสนับสนุนต่อปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ (เยน/ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า) โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
1. Eligibility Review
1) มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ผู้ยื่นใบสมัคร
2) สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
3) สามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในประเทศไทยได้
4) ใช้เทคโนโลยีมีประสิทธิภาพสูง
5) ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมเศรษฐกิจ
6) สามารถประมาณการค่าใช้จ่ายในการพัฒนาโครงการได้
7) ได้รับเงินกู้จากหน่วยงานอื่น เช่น JICA
8) ต้องไม่ได้รับทุนสนับสนุนอื่นจากรัฐบาลญี่ปุ่น
ผลการประเมิน: ผ่าน/ไม่ผ่าน
2. Assessment Review
1) ผู้พัฒนาโครงการสามารถดำเนินโครงการได้
I. ศักยภาพของผู้พัฒนาโครงการ (15 คะแนน)
II. ความเหมาะสมของแผนงาน (10 คะแนน)
III. ผลตอบแทนของโครงการ (5 คะแนน)
IV. โครงสร้างของ international consortium (5 คะแนน)
V. ความเหมาะสมของแผนการเงิน (5 คะแนน)
2) ปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจกและความคุ้มค่า (40 คะแนน)
3) ศักยภาพในการเผยแพร่เทคโนโลยี (10 คะแนน)
4) แนวคิดในการพัฒนา methodology และและแผนการติดตาม (10 คะแนน)
ผลการประเมิน: คะแนนมาก/น้อย
ดัชนีในการประเมินความคุ้มค่า >> เงินสนับสนุนต่อปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ น้อยกว่า 4,000 JPY/tCO2eq
Cost-effectiveness for GHG emission reductions [JPY/tCO2equivalent
= (Amount of financial support [JPY]) / (Emission reductions of GHG (tCO2equivalent/y) x legal durable years [y])
ผลการประเมิน: ผ่าน/ไม่ผ่าน
ดัชนีในการประเมินระยะเวลาคืนทุน >> ระยะเวลาคืนทุน มากกว่า 3 ปี
ผลการประเมิน: ผ่าน/ไม่ผ่าน
2. เงื่อนไขในการคัดเลือกข้อเสนอโครงการที่ขอรับทุนตามแนวทางและกลไกการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิต
ตามแนวทางและกลไกการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิต เพื่อการใช้คาร์บอนเครดิตเพื่อวัตถุประสงค์ระหว่างประเทศ มีเกณฑ์ในการคัดเลือกโครงการดังนี้
1) การใช้คาร์บอนเครดิตเพื่อวัตถุประสงค์ระหว่างประเทศต้องสอดคล้องกับกรอบความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเป็นภาคี ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และต้องเป็นคาร์บอนเครดิตที่เกิดจากประเภทโครงการ ดังต่อไปนี้
1. พลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานที่ใช้ทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล
2. การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าและการผลิตความร้อน
3. การใช้ระบบขนส่งสาธารณะ
4. การใช้ยานพาหนะไฟฟ้า
5. การเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องยนต์
6. การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคารและโรงงาน และในครัวเรือน
7. การปรับเปลี่ยนสารทำความเย็นธรรมชาติ
8. การใช้วัสดุทดแทนปูนเม็ด
9. การจัดการขยะมูลฝอย
10. การจัดการน้ำเสียชุมชน
11. การนำก๊าซมีเทนกลับมาใช้ประโยชน์
12. การจัดการน้ำเสียอุตสาหกรรม
13. การลด ดูดชับ และกักเก็บก๊าซเรือนกระจกจากภาคป่าไม้และการเกษตร
14. การดักจับ กักเก็บ และ/หรือใช้ประโยชน์จากก๊ซเรือนกระจก
15. โครงการอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด
2) โครงการต้องมีลักษณะครบถ้วน ดังต่อไปนี้
1. เป็นโครงการที่ส่งผลให้เกิดการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากแหล่งกำเนิดหรือเพิ่มแหล่งกักเก็บก๊าซเรือนกระจก ในส่วนเพิ่มเติมจากการดำเนินงานตามแผนการลดก๊ซเรือนกระจกของประเทศ
2. เป็นโครงการที่สนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อบรรลุตามเป้าหมายของการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contributions: NDC) และยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศไทย (Thailand's Long-Term Low Greenhouse Gas Emission development Strategy: Thailand LTS)
3. เป็นโครงการที่กำหนดการแบ่งสรรคาร์บอนเครดิตที่เป็นธรรม โดยพิจารณาจากสัดส่วนเงินลงทุน หรือกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศ/กรอบความตกลงระหว่างประเทศ หรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
4. เป็นโครงการที่กำหนดระยะเวลาการรับรองคาร์บอนเครดิต (Crediting period) ไม่เกินระยะเวลาการดำเนินงานตามเป้าหมายของการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (NDC implementation period) ในแต่ละช่วงเวลา
5. เป็นโครงการที่มีการส่งเสริมการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือนวัตกรรมขั้นสูงและใช้เงินลงทุนสูง และการเข้าถึงทรัพยากรทางการเงินเพื่อการจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในการลดก๊าซเรือนกระจกจากแหล่งกำเนิดหรือเป็นการเพิ่มแหล่งกักเก็บก๊าซเรือนกระจก
6. ผลการลดก๊าซเรือนกระจกจากโครงการที่ดำเนินการในประเทศไทยที่ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ระหว่างประเทศ ต้องได้รับการรับรองในหน่วยตันคาร์บอนไดออกไซดืเทียบเท่า
สามารถดาว์โหลดเอกสารแนวทางและกลไกการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิตได้ที่: https://www.dcce.go.th/news/project_file.aspx?p=2382