CS-11 : Study on GHG emission and identify potential GHG emission reduction. Develop local GHG abatement plans in 8 municipalities (Region 1)
การจัดทำข้อมูลปริมาณก๊าซเรือนกระจก ศึกษาศักยภาพในการลดก๊าซเรือนกระจกและจัดทำแผนการลดก๊าซเรือนกระจกของเทศบาลใน 8 เทศบาล (ภูมิภาคที่ 1)
ที่ปรึกษา: ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านจัดการพลังงานและเศรษฐนิเวศ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ระยะเวลาดำเนินงาน: 18 เดือน (กรกฎาคม 2560 – มกราคม 2562)
ความก้าวหน้าการดำเนินงาน: โครงการเสร็จสมบูรณ์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ:
1) ข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปีฐานและคาดการณ์ปริมาณก๊าซเรือนกระจกระดับเมือง
2) ประเมินศักยภาพของกิจกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสม และความเป็นไปได้ในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่สอดคล้องกับบริบทของเมือง
3) แผนและแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมกับเมือง
ผลการดำเนินงาน
กลไก LCC program เป็นการดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อมุ่งสู่เมืองคาร์บอนต่ำ (Low Carbon City) ของเทศบาลและชุมชน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและการลดก๊าซเรือนกระจกในระดับเมืองและชุมชน การดำเนินการตามกลไก LCC program มีความสอดคล้องกับนโยบายระดับชาติ ได้แก่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งกล่าวถึงการปรับกระบวนทัศน์การพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศไปสู่การเป็นเศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นการดำเนินงานใน 25 เทศบาล เพื่อเป็นเทศบาลตัวอย่างก่อนขยายให้ครอบคลุมเทศบาลต่างๆ ในลำดับต่อไป
การศึกษากลไก ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ การจัดทำฐานข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของเทศบาล การคาดการณ์แนวโน้มการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การพัฒนาแผนการและมาตรการลดก๊าซเรือนกระจก และการพัฒนากิจกรรมของเมืองเป็นโครงการลดก๊าซเรือนกระจก จากการดำเนินการ LCC Program ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของ 25 เทศบาล ในปีฐาน พ.ศ. 2559 มีค่าอยู่ในช่วง 10,661.14 - 2,286,838 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2eq)
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามรายกิจกรรมเฉลี่ยของเทศบาลสามารถแสดงได้ดังรูป สำหรับเทศบาลนครกิจกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดได้แก่ การใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรม ตามมาด้วยการใช้พลังงานในภาคธุรกิจและหน่วยงานและการขนส่ง ในส่วนของเทศบาลเมือง กิจกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดได้แก่ การใช้พลังงานงานในภาคธุรกิจและหน่วยงาน ตามมาด้วยการขนส่งและการใช้พลังงานในครัวเรือน ในส่วนของเทศบาลตำบล มีตัวแทนเพียงเทศบาลเดียวคือเทศบาลตำบลบ้านฉาง ซึ่งเป็นเทศบาลที่มีนิคมอุตสาหกรรมอยู่ในพื้นที่ จึงมีกิจกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดคือ การใช้พลังงานในภาคอุตสาหกรรม
การเพิ่มขึ้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สามารถคาดการณ์ได้จากการเพิ่มขึ้นของการใช้พลังงานทั้งในกลุ่มการเผาไหม้อยฆู่กับที่และการขนส่ง นอกจากนี้การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรยังส่งผลให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกการจัดการขยะที่เพิ่มขึ้น จากการคาดการณ์ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี พ.ศ. 2573 ของ 25 เทศบาลที่เข้าร่วมโครงการอยู่ในช่วง 11,745 – 3,472,128 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
จากการพัฒนาแผนการและมาตรการลดก๊าซเรือนกระจก พบว่าศักยภาพในการลดก๊าซเรือนกระจกของเทศบาลที่เข้าร่วมโครงการ ณ ปี พ.ศ. 2573 อยู่ในช่วงร้อยละ 4.01 – 29.56 โดยมีศักยภาพรวมอยู่ที่ 1,052,962 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า มาตรการในการลดการปล่อนกาซเรือนกระจกสามารถแบ่งออกได้เป็นมาตรการสนับสนุนซึ่งไม่สามารถคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจกได้ ยกตัวอย่างเช่น การใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง การเพิ่มพื้นที่ย่านสีเขียวในชุมชน และการใช้รถจักรยานและรถสาธารณะ สำหรับมาตรการหลักสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่มหลักๆ ได้แก่มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพอุปกรณ์ปรับอากาศและอุปกรณ์ทำน้ำร้อน มาตรการจัดการขยะ มาตรการติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังงานแส่งอาทิตย์ มาตรการติดตั้งหลอดไฟประสิทธิภาพสูง และการใช้เชื้อเพลิง NGV
120 หมู่ที่ 3 ชั้น 9 อาคารรัฐประศาสนภักดี
ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร 10210
โทรศัพท์ : 02-141 9841-9 | โทรสาร: 02-143 8404
Copyright © 2017 All Rights Reserved.
ติดต่อเรา | ติดตามเรา
นโยบายเว็บไซต์ | นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล