การพิสูจน์โครงการที่เข้าข่ายโครงการลดก๊าซเรือนกระจก (Positive List) และการดำเนินงานเพิ่มจากการดำเนินงานตามปกติ (Additionality)
การพิสูจน์โครงการที่เข้าข่ายโครงการลดก๊าซเรือนกระจก (Positive List) และการดำเนินงานเพิ่มจากการดำเนินงานตามปกติ (Additionality)
โครงการที่จะพัฒนาเป็นโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) ต้องผ่านการพิสูจน์โครงการที่เข้าข่ายโครงการลดก๊าซเรือนกระจก (Positive List) หรือเป็นการดำเนินงานเพิ่มเติมจากการดำเนินงานตามปกติ (Additionality) จึงสามารถพัฒนาเป็นโครงการ T-VER ได้
หลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการที่เข้าข่ายโครงการลดก๊าซเรือนกระจก (Positive List) ผู้พัฒนาโครงการต้องตรวจสอบขนาดโครงการลด/กักเก็บก๊าซเรือนกระจกตามหลัเกณฑ์การแบ่งขนาดโครงการ T-VER (ตรวจสอบได้จากหัวข้อ “ขนาดของโครงการ”)
ขนาดโครงการที่เข้าข่ายโครงการ Positive List
- โครงการขนาดเล็กมาก (Micro Scale)
- โครงการขนาดเล็ก (Small Scale)
ขนาดโครงการที่ไม่เข้าข่ายโครงการ Positive List
- โครงการขนาดใหญ่ (Large Scale) ตรวจสอบหลักเกณฑ์การพิจารณาสำหรับโครงการขนาดใหญ่
ซึ่งหากมีความประสงค์จะพัฒนาเป็นโครงการ T-VER ให้ใช้หลักเกณฑ์ประเภทโครงการหรือเทคโนโลยีการลดก๊าซเรือนกระจกที่ใช้ (ตรวจสอบได้จากหัวข้อ “Technology Positive List”Technology Positive List”) สำหรับการพิจารณาโครงการที่เข้าข่ายโครงการลดก๊าซเรือนกระจก (Positive List) และสามารถพัฒนาเป็นโครงการ T-VER และหากไม่เข้าข่ายตามหลักเกณฑ์ ให้โครงการพิสูจน์การดำเนินงานเพิ่มเติมจากการดำเนินงานตามปกติ (Additionality) ตามหลักเกณฑ์การพิสูจน์การดำเนินงานเพิ่มเติมจากการดำเนินงานตามปกติ
การพิสูจน์การดำเนินงานเพิ่มเติมจากการดำเนินงานปกติ มีที่มาจากแนวคิดโครงการ CDM ที่ต้องการพิสูจน์ว่าโครงการลดก๊าซเรือนกระจกไม่สามารถเกิดขึ้นได้เอง หากขาดรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิต และเพื่อให้ผู้ซื้อคาร์บอนเครดิตดังกล่าวมั่นใจได้ว่า รายได้ที่โครงการได้รับจากการขายคาร์เครดิตสามารถทำให้โครงการลดก๊าซเรือนกระจกสามารถเกิดขึ้นได้ (Feasible)
อบก. มีการกำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนการพิสูจน์ Additionality สำหรับโครงการขนาดใหญ่ (Large Scale) เพื่อช่วยลดความยุ่งยากซับซ้อน โดยกำหนดให้มีความเหมาะสมกับลักษณะของการพัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทย และเป็นไปตามหลักมาตรฐานสากลโครงการที่ต้องพิสูจน์ Additionality โดบใช้หลักเกณฑ์การพิจารณา Additionality จากระยะเวลาคืนทุน (Payback Period) ของโครงการ โดยระยะเวลาการคืนทุนมากกว่า 3 ปีถือว่าโครงการมี Additionality
ดูหลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการที่เข้าข่ายโครงการลดก๊าซเรือนกระจกที่ไม่ต้องพิสูจน์ส่วนเพิ่มเติม (Positive List) และการพิสูจน์การดำเนินงานเพิ่มเติมจากการดำเนินงานตามปกติ (Additionality) ได้ที่ http://ghgreduction.tgo.or.th/th/other-rule/tver-other-rules.html
- Hits: 29240