Premium T-VER คืออะไร?

โครงสร้างการบริหารจัดการ

กรอบการดำเนินงาน
โครงการ T-VER บริการจัดการโดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. โดยมีคณะบุคคลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
1) คณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
2) คณะอนุกรรมการการพิจารณาโครงการการและกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก

คณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก อำนาจหน้าที่คณะกรรมองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกเป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2550 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562

คณะอนุกรรมการการพิจารณาโครงการการและกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก
1. อำนาจหน้าที่

  • พิจารณากลั่นกรองโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) และปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ ตามมาตรฐานที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกกำหนด เสนอต่อคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกให้ความในการขึ้นทะเบียนโครงการ และรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจก
  • พิจารณาและให้ความเห็นต่อหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียน และรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจก และหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนผู้ประเมินภายนอกสําหรับโครงการภาคสมัครใจ เสนอต่อคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เห็นชอบและประกาศใช้
  • พิจารณาและให้ความเห็นต่อระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ (T-VER Methodology) เครื่องมือการคํานวณ (Tool) ค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Factor) และให้ความเห็นชอบ ทบทวนปรับปรุง และยกเลิกระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจเครื่องมือการคํานวณ และค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เสนอต่อคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เพื่อทราบและประกาศใช้
  • พิจารณาและให้ความเห็นต่อการขึ้นทะเบียน พัก และเพิกถอน ผู้ประเมินภายนอกสําหรับโครงการภาคสมัครใจ (Validation and Verification Body: VVB) เสนอต่อคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เห็นชอบ
  • ปฏิบัติงานอื่นใด ตามที่คณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกมอบหมาย

2. องค์ประกอบ
      ประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ ที่เกี่ยวข้องทั้งจากภาครัฐ สถาบันการศึกษา องค์กรพัฒนาเอกชน และอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการ อบก. เห็นสมควร

 

โครงสร้างการบริหารจัดการโครงการ T VER

  • Hits: 6445

การเปิดเผยข้อมูล

การเปิดเผยข้อมูล

ผู้พัฒนาโครงการต้องยินยอมให้ อบก. เปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้ให้สาธารณชนทราบบนเว็บไซต์ของ อบก.

  • รายชื่อโครงการและผู้พัฒนาโครงการที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโครงการ T-VER และวันที่ขึ้นทะเบียน
  • เอกสารแจ้งความประสงค์ในการพัฒนาโครงการ (Modality of communication: MoC)
  • เอกสารประกอบการขอขึ้นทะเบียนโครงการ
  • เอกสารประกอบการขอรับรองคาร์บอนเครดิต
  • เอกสารประกอบการขอต่ออายุโครงการ
  • เอกสารประกอบการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ
  • ผลการพิจารณาโครงการ
  • ปริมาณคาร์บอนเครดิตที่ได้รับการรับรอง ปริมาณเครดิตสำรอง
  • Hits: 4135

ประเภทโครงการ

ประเภทโครงการ Premium T-VER

T-VER

ระยะเวลาคิดเครดิต (Crediting Period) 

กำหนดระยะเวลาคิดเครดิตหรืออายุโครงการของโครงการเดี่ยวและโครงการแบบควบรวม โครงการแบบแผนงาน กลุ่มโครงการย่อยภายใต้โครงการแบบแผนงาน เป็นไปตามประเภทของกิจกรรมโครงการ ดังนี้

credit

ผู้พัฒนาโครงการสามารถยื่นคำขอเพื่อต่ออายุโครงการได้จำนวน 2 ครั้ง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

  • Hits: 10498

Premium T-VER คืออะไร?

Premium T-VER คืออะไร?

โครงการ T-VER มาตรฐานขั้นสูง (Premium T-VER) ต้องเป็นกิจกรรมที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ที่สามารถตรวจวัดการลดก๊าซเรือนกระจกได้จริง (real) และถาวร (permanent) มีการดำเนินงานเพิ่มเติมจากการดำเนินงานตามปกติ (additional) ไม่มีการนับซ้ำ (double counting) สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน และมีการป้องกันผลกระทบด้านลบ (safeguards) ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบด้านลบ (do-no-net harm)

22.png

11.png

  • Hits: 16714