logo ghg
  • Home
  • T-VER
  • Premium T-VER
  • LESS
  • JCM
  • CDM
  • ติดต่อเรา
  • SEARCH

“เครดิตสำรอง” (Buffer Credits) หมายความว่า ปริมาณก๊าซเรือนกระจกของผู้พัฒนาโครงการที่ได้รับการรับรองคาร์บอนเครดิตตามที่กำหนดไว้ในระเบียบคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการพิจารณาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) พ.ศ. 2566 ซึ่งองค์การได้หักไว้และบันทึกในระบบทะเบียนคาร์บอนเครดิตขององค์การ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันความเสี่ยงจากความไม่ถาวรของการดำเนินโครงการ T-VER มาตรฐานขั้นสูง ตามข้อ 6 (13) เว้นแต่เป็นกิจกรรมลดก๊าซมีเทนและหรือไนตรัสออกไซด์จากการเกษตร แห่งระเบียบคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการพิจารณาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) พ.ศ. 2566 ตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่คณะกรรมการกำหนด

โดยมีการจัดการเครดิตสำรองดังนี้

การจัดการเครดิตสำรองpng

 

  • Hits: 1484

การขึ้นทะเบียนโครงการ Premium T-VER

         ผู้พัฒนาโครงการต้องจัดทำเอกสารประกอบการพิจารณาขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER ให้ถูกต้องและครบถ้วน โดยสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้จากเว็บไซต์ https://ghgreduction.tgo.or.th/th/premium-t-ver-download.html ซึ่งเอกสารข้อเสนอโครงการ (Project Design Document: PDD) ต้องได้รับการตรวจสอบความใช้ได้ (Validation) จากผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจ (VVB) ผู้พัฒนาโครงการต้องได้รับรายงานการตรวจสอบความใช้ได้ (Validation Report) และรายงานการตรวจสอบจากผู้ประเมินภายนอกฯ เพื่อนำไปประกอบการยื่นขอขึ้นทะเบียนโครงการ T-VER ต่อไป นอกจากนี้ ผู้พัฒนาโครงการต้องจัดทำรายงานการประเมินการพัฒนาที่ยั่งยืนและการป้องกันผลกระทบด้านลบ (SD & Safeguards Assessment Report) เพื่อให้ อบก. ตรวจสอบและใช้ประกอบการพิจารณาขึ้นทะเบียนโครงการ

TCERs TH 12 s

  • Hits: 5551

ขั้นตอนการรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจก

        ผู้พัฒนาโครงการต้องจัดทำเอกสารประกอบการพิจารณารับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจก (คาร์บอนเครดิต) ให้ถูกต้องและครบถ้วน โดยสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้จากเว็บไซต์ https://ghgreduction.tgo.or.th/th/premium-t-ver-download.html ซึ่งรายงานการติดตามประเมินผลปริมาณก๊าซเรือนกระจก (Monitoring Report: MR) และรายงานการติดตามประเมินผลความเสี่ยงต่อการสูญเสียคาร์บอนจากความไม่ถาวรของโครงการ (Non-permanence Risk) (หากมี) ต้องได้รับการทวนสอบ (Verification) จากผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจ (VVB) ซึ่งจะกำหนดปริมาณเครดิตที่ต้องสำรอง (buffer credits) ไว้ในบัญชีเครดิตสำรอง (buffer account) ของระบบทะเบียน เพื่อเป็นหลักประกันความเสี่ยงกรณีที่เกิดการสูญเสียคาร์บอนจากความไม่ถาวรของโครงการ

          ผู้พัฒนาโครงการต้องได้รับรายงานการทวนสอบ (Verification Report) จากผู้ประเมินภายนอกฯ เพื่อนำไปประกอบการยื่นขอรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจก (คาร์บอนเครดิต) นอกจากนี้ ผู้พัฒนาโครงการต้องจัดทำรายงานการติดตามประเมินผลการพัฒนาที่ยั่งยืนและการป้องกันผลกระทบด้านลบ (SD & Safeguards Assessment Report) เพื่อให้ อบก. ตรวจสอบและใช้ประกอบการพิจารณารับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจก

ขอรับรอง.png

  • Hits: 4258

ขั้นตอนการต่ออายุโครงการ

การต่ออายุโครงการ T-VER จะต้องยื่นคำขอไม่น้อยกว่า 180 วัน ก่อนอายุโครงการหมดอายุลง และต้องปรับปรุงเอกสารข้อเสนอโครงการโดยคิดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจกที่มีผลใช้บังคับล่าสุด เพื่อให้มีการปรับค่ากรณีฐานให้สะท้อนค่า ณ ช่วงเวลาที่มีการต่ออายุ และให้ผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจ (VVB) ตรวจสอบความใช้ได้ของเอกสารข้อเสนอโครงการ  ระยะเวลาคิดเครดิตของกลุ่มโครงการย่อยเป็นไปตามประเภทของกิจกรรมโครงการ จำนวนปีและจำนวนครั้งที่สามารถต่ออายุโครงการแบ่งตามประเภทโครงการ 

ต่ออายุ.png

  • Hits: 2636

ระเบียบวิธีการ