ขั้นตอนการต่ออายุโครงการ

การต่ออายุโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย

(Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER)

 

หลักเกณฑ์และเงื่อนไข

  1. เป็นโครงการที่ดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง และมีการดำเนินงานสอดคล้องตามแนวทางการพัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทยฉบับที่มีผลใช้บังคับขณะที่ได้มีการยื่นคำขอ
  2. เป็นโครงการที่ประเมินศักยภาพการลดหรือกักเก็บก๊าซเรือนกระจกของโครงการและใช้วิธีการติดตามผลและรายงานการลดก๊าซเรือนกระจกสอดคล้องกับระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจฉบับที่มีผลใช้บังคับขณะที่ได้มีการยื่นคำขอ
  3. ต้องได้รับการตรวจสอบความใช้ได้จากผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากคณะกรรมการ
  4. จัดทำเอกสารข้อเสนอโครงการ (Project Design Document: PDD) หรือเอกสารข้อเสนอ
    กลุ่มโครงการย่อยภายใต้โครงการแบบแผนงาน (T-VER Component Project Activities Design Document: T-VER-CPA-DD) สอดคล้องกับระเบียบวิธีลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจฉบับที่มีผลใช้บังคับขณะที่ได้มีการยื่นคำขอ

โครงการ T-VER ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข และประสงค์จะขอต่ออายุโครงการ

โครงการ Standard T-VER

  1. ใบคำขอต่ออายุโครงการ T-VER จำนวน 1 ฉบับ
  2. เอกสารข้อเสนอโครงการ (Project Design Document: PDD) หรือเอกสารข้อเสนอกลุ่มโครงการย่อยภายใต้โครงการแบบแผนงาน (T-VER Component Project Activities Design Document: T-VER-CPA-DD) ฉบับใหม่ที่ปรับปรุงตามหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง และผ่านการตรวจสอบความใช้ได้จากผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจ จำนวน 1 ฉบับ
  3. ไฟล์การคำนวณ (Excel)
  4. รายงานการตรวจสอบความใช้ได้ (Validation Report) จากผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจ จำนวน 1 ฉบับ
  5. รายงานการประเมินผลประโยชน์ร่วม (Co-benefit Report) จำนวน 1 ฉบับ
  6. อุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่บันทึกข้อมูลโครงการทั้งหมด จำนวน 1 ชุด เฉพาะกรณีที่ผู้ยื่นคำขอนำส่งเอกสารทางไปรษณีย์หรือ ณ สถานที่ทำการขององค์การ

โครงการ Premium T-VER

  1. ใบคำขอต่ออายุโครงการ T-VER จำนวน 1 ฉบับ
  2. เอกสารข้อเสนอโครงการ (Project Design Document: PDD) หรือเอกสารข้อเสนอกลุ่มโครงการย่อยภายใต้โครงการแบบแผนงาน (T-VER Component Project Activities Design Document: T-VER-CPA-DD) ฉบับใหม่ที่ปรับปรุง และผ่านการตรวจสอบความใช้ได้จากผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจ จำนวน 1 ฉบับ
  3. ไฟล์การคำนวณ (Excel)
  4. รายงานการตรวจสอบความใช้ได้ (Validation Report) จากผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจ จำนวน 1 ฉบับ
  5. รายงานการติดตามประเมินผลการพัฒนาที่ยั่งยืนและการป้องกันผลกระทบด้านลบ (Sustainable Development and Safeguards Monitoring Report) จำนวน 1 ฉบับ
  6. รายงานติดตามประเมินผลความเสี่ยงต่อการสูญเสียคาร์บอนจากความไม่ถาวรของโครงการ (Non-permanence Risk Report) ที่ผ่านการทวนสอบจากผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจ (ถ้ามี) จำนวน 1 ฉบับ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
  7. อุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่บันทึกข้อมูลโครงการทั้งหมด จำนวน 1 ชุด เฉพาะกรณีที่ผู้ยื่นคำขอนำส่งเอกสารทางไปรษณีย์หรือ ณ สถานที่ทำการขององค์การ

ขั้นตอนการต่ออายุโครงการ T-VER

  1. ส่งคำขอต่ออายุโครงการ T-VER และเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ไปยัง อบก. ทางอีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. และ http://ghgreduction.tgo.or.th/th/regis-t-ver-project/application-form-t-ver.html
  2. อบก. ตรวจสอบความครบถ้วนและถูกต้องของเอกสาร กรณีเอกสารไม่ครบถ้วน/ไม่ถูกต้อง อบก.จะแจ้งให้ผู้พัฒนาโครงการปรับแก้ไขและส่งกลับไปยัง อบก. ภายใน 15 วันทำการ หากผู้พัฒนาโครงการไม่จัดส่งเอกสารไปยัง อบก. ตามกำหนดเวลา อบก.จะจำหน่ายคำขอออกจากสารบบ
  3. อบก. จะนำเสนอคณะอนุกรรมการพิจารณาโครงการและกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อกลั่นกรองความถูกต้อง ภายในระยะเวลา 30 วันทำการ นับจากวันที่เอกสารโครงการครบถ้วนและถูกต้อง
  4. กรณีโครงการผ่านการพิจารณากลั่นกรองโดยคณะอนุกรรมการฯ อบก.จะนำเสนอคณะกรรมการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เพื่อพิจารณาเห็นชอบต่ออายุโครงการ รวมระยะเวลาพิจารณาทั้งหมดไม่เกิน 60 วันทำการ นับจากวันที่เอกสารโครงการครบถ้วนและถูกต้อง
  5. อบก. แจ้งผลการพิจารณาต่ออายุโครงการให้ผู้พัฒนาโครงการทราบ และออกหนังสือแจ้งผลให้ผู้ยื่นคำขอต่ออายุโครงการ T-VER

วิธีการจัดทำเอกสารข้อเสนอโครงการ (Project Design Document: PDD) ฉบับใหม่

      1) ประเภทโครงการการพัฒนาพลังงานทดแทน การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน การจัดการของเสีย และการจัดการในภาคขนส่ง

       2) ประเภทโครงการการเกษตร

         3) ประเภทโครงการปลูกต้นไม้หรือปลูกป่า และการอนุรักษ์หรือฟื้นฟูป่า