logo ghg
  • Home
  • T-VER
  • Premium T-VER
  • LESS
  • JCM
  • CDM
  • ติดต่อเรา
  • SEARCH

ลักษณะและหลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการ T-VER


เรื่อง

รายละเอียด
1.ประเภทโครงการ

ประเภทโครงการที่สามารถเข้าร่วมดำเนินโครงการ T-VER 
ต้องเข้าข่ายประเภทโครงการดังต่อไปนี้

1) การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงาน
2) การพัฒนาพลังงานทางเลือก
3) การพัฒนาพลังงานหมุนเวียน 
4) การจัดการขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล และวัสดุเหลือใช้
5) การจัดการในภาคขนส่ง
6) ป่าไม้และพื้นที่สีเขียว
7) การเกษตร
8) อื่นๆ ตามที่ อบก. กำหนด 

2.ชนิดของก๊าซเรือนกระจก

โครงการ T-VER จะครอบคลุมก๊าซเรือนกระจก 3 ชนิด คือ

1) คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
2) ก๊าซมีเทน (CH4)
3) ก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O) 

3. ขนาดโครงการ ไม่จำกัดขนาด
4. ลักษณะการดำเนิน
โครงการ
Project Based ที่มีการดำเนินโครงการแบบเดี่ยว (Single Project) 
5. ขอบข่ายโครงการ โครงการจะต้องไม่เริ่มดำเนินโครงการ (Project Starting Date) ก่อนปี พ.ศ. 2550 และต้องมีเอกสารหรือหลักฐานยืนยัน 
6. วันที่เริ่มดำเนินโครงการ
(Project Starting Date)
วันที่เริ่มบันทึกข้อมูลกิจกรรมการลดก๊าซเรือนกระจกตามที่กำหนดในระเบียบวิธีการ
7. ระยะเวลาการคิดเครดิต

(1) โครงการที่ยังไม่เริ่มดำเนินโครงการ
โครงการทั่วไป 7 ปี และโครงการป่าไม้ 20 ปี
ในกรณีนี้ วันที่เริ่มคิดเครดิตต้องไม่เกิน 1 ปีนับจากวันที่ยื่นเอกสารขอขึ้นทะเบียนโครงการครบถ้วนตามที่อบก.กำหนด

(2) โครงการที่ดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกแล้ว
โครงการทั่วไป 7 ปี และโครงการป่าไม้ 20 ปี
ในกรณีนี้ วันที่เริ่มคิดเครดิตสามารถนับย้อนหลังจากวันที่ยื่นเอกสารขอขึ้นทะเบียนโครงการครบถ้วนตามที่อบก. กำหนด ได้ไม่เกิน1 ปี

8. หน่วยของคาร์บอนเครดิต TVERs (Thailand Verified Emission Reduction)
9. การพิสูจน์ additionality 
และ Co-benefits
เป็นการประเมินโดยใช้หลักเกณฑ์ตามที่ อบก. กำหนด
10. การป้องกันการนับซ้ำหรือ 
การนำไปใช้ซ้ำ

โครงการที่จะพัฒนาเป็นโครงการ T-VER จะต้องมีการดำเนินงาน
เพื่อป้องกันการนับซ้ำ/นำไปใช้ซ้ำ ดังนี้

10.1 การป้องกันการนับซ้ำจากการขอรับรองโครงการ
1) ผู้พัฒนาโครงการและผู้ที่อยู่ในโครงการ จะต้องไม่ขอรับการรับรอง 
“โครงการที่มีขอบเขตการดำเนินงานเดียวกัน” จากระบบการให้การรับรองอื่น 

2) ในกรณีที่มีการขอรับการรับรองโครงการหลายโครงการซึ่งอยู่ในพื้นที่
ที่เป็นนิติบุคคล (หรือบุคคล) เดียวกัน และแยกยื่นขอรับรองโครงการ ผู้พัฒนาโครงการจะต้องระบุไว้ในใบสมัคร (ภายใต้หัวข้อการป้องกันการนับซ้ำ) ว่าโครงการใดได้ขอรับการรับรองจากโครงการ T-VER และจากระบบการให้การรับรองอื่นด้วย และต้องพิสูจน์ว่าจะไม่มีการนับซ้ำเกิดขึ้น

10.2 การป้องกันการนับซ้ำจากการรายงานหรือประกาศผลการดำเนินงาน
ด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยสมัครใจ 

หลังจากที่มีการให้การรับรองและโอนคาร์บอนเครดิตให้กับบุคคลที่ 3 แล้ว ผู้พัฒนาโครงการและผู้ที่อยู่ในโครงการจะไม่สามารถถือสิทธิ์ในคาร์บอนเครดิตดังกล่าวได้

  • Hits: 6977