ลักษณะและประเภทของโครงการ CDM

โครงการ CDM แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่

1. โครงการ CDM ทั่วไป (Single project)

      โครงการ CDM ทั่วไปภายใต้พิธีสารเกียวโตได้ถูกกำหนดและแบ่งประเภท (Sectoral scope) ออกเป็น 16 ประเภทโครงการ มีดังนี้

2. โครงการ CDM ขนาดเล็ก และการควบรวมโครงการ (Bundling)

      โครงการ CDM ที่มีขนาดเล็ก มีข้อดีคือจะใช้ระเบียบที่ง่ายขึ้น เอกสารข้อเสนอโครงการที่ไม่ซับซ้อน มีวิธีการในการคำนวณการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกและการติดตามประเมินผลที่ง่ายขึ้น เสียค่าธรรมเนียมในการขึ้นทะเบียนต่ำกว่าโครงการปกติ อีกทั้งสามารถใช้หน่วยงานปฎิบัติการในการตรวจสอบ (DOE) รายเดียวกันในการตรวจสอบ การยืนยันและการรับรอง อย่างไรก็ตาม โครงการจะต้องเป็นไปตามที่กำหนดอย่างใดอย่างหนึ่ง

3. โครงการ CDM แบบแผนงาน (Programme of Activities : PoA)

      โครงการแบบ PoA นี้ถือเป็นแนวคิดโครงการ CDM ที่นำโครงการย่อยจำนวนหนึ่งหรือหลายโครงการก็ได้มารวมกันเป็นกิจกรรมโครงการ (CPA: CDM Programme Activity) และรวมหลายกิจกรรมโครงการ CPA นี้ภายใต้ PoA เดียวกัน เพื่อลดขั้นตอนและค่าใช้จ่ายบางส่วนลง โดยภาพรวมแล้ว โครงการ CDM PoA

โครงการ CDM แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่

1. โครงการ CDM ทั่วไป (Single project)

      โครงการ CDM ทั่วไปภายใต้พิธีสารเกียวโตได้ถูกกำหนดและแบ่งประเภท (Sectoral scope) ออกเป็น 16 ประเภทโครงการ มีดังนี้

ประเภทที่ ประเภทโครงการ ประเภทที่ ประเภทโครงการ
1 อุตสาหกรรมด้านพลังงาน (จากแหล่งพลังงานหมุนเวียนและพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป) (Energy industries (Renewable / Non-renewable sources)) 9 การผลิตโลหะ (Metal production)
2 การจำหน่ายพลังงาน (Energy distribution) 10 การรั่วไหลของก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตพลังงานต่างๆ (ของแข็ง น้ำมัน และ ก๊าซ) (Fugitive emissions from fuels (solid, oil and gas))
3 การใช้พลังงาน (Energy demand) 11 การรั่วไหลของก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตและการใช้สารฮาโลคาร์บอนและซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (Fugitive emissions from production and consumption of halocarbons and sulphurhexafluoride)
4 อุตสาหกรรมการผลิต (Manufacturing industries) 12 การใช้สารละลาย (Solvent use)
5 อุตสาหกรรมเคมี (Chemical industries) 13 การจัดการขยะและของเสีย (Waste handling and disposal)
6 การก่อสร้าง (Construction) 14 การปลูกป่าและการฟื้นฟูป่า (Afforestation and reforestation)
7 การขนส่ง (Transport) 15 การเกษตรกรรม (Agriculture)
8 เหมืองแร่และการถลุงแร่ (Mining/ Mineral production) 16 การดักเก็บและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture and Storage)

 

2. โครงการ CDM ขนาดเล็ก และการควบรวมโครงการ (Bundling)

      โครงการ CDM ที่มีขนาดเล็ก มีข้อดีคือจะใช้ระเบียบที่ง่ายขึ้น เอกสารข้อเสนอโครงการที่ไม่ซับซ้อน มีวิธีการในการคำนวณการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกและการติดตามประเมินผลที่ง่ายขึ้น เสียค่าธรรมเนียมในการขึ้นทะเบียนต่ำกว่าโครงการปกติ อีกทั้งสามารถใช้หน่วยงานปฎิบัติการในการตรวจสอบ (DOE) รายเดียวกันในการตรวจสอบ การยืนยันและการรับรอง อย่างไรก็ตาม โครงการจะต้องเป็นไปตามที่กำหนดอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

      Type I : โครงการพลังงานหมุนเวียน ต้องมีกำลังการผลิตติดตั้งไม่เกิน 15 MW

      Type II : โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นด้าน Supply (เช่น ในโรงไฟฟ้า) หรือด้าน Demand (เช่น ด้านโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้ไฟฟ้า) ต้องสามารถลดการใช้พลังงานไม่เกิน 60 GWh ต่อปี

      Type III : โครงการอื่นๆ ต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่เกิน 60,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

      ส่วนโครงการปลูกป่าและฟื้นฟูป่าขนาดเล็กนั้นต้องมีการดูดซับก๊าซเรือนกระจกไม่เกิน 16,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี

      นอกจากนี้ โครงการขนาดเล็กยังสามารถรวมโครงการหลายๆ โครงการเข้าด้วยกัน (Bundling) เรียกว่า Small scale bundling project โดยใช้เอกสารข้อเสนอโครงการฉบับเดียว ทั้งนี้ ขนาดของโครงการโดยรวมจะต้องไม่เกินข้อกำหนดของโครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาดขนาดเล็ก และการ Bundling นี้มีข้อจำกัดคือโครงการที่รวมกันนั้น แต่ละโครงการย่อยจะต้องเริ่มพร้อมกัน และมีระยะเวลาในการคิดคาร์บอนเครดิตเท่ากัน


3. โครงการ CDM แบบแผนงาน (Programme of Activities: PoA)

      โครงการแบบ PoA นี้ถือเป็นแนวคิดโครงการ CDM ที่นำโครงการย่อยจำนวนหนึ่งหรือหลายโครงการก็ได้มารวมกันเป็นกิจกรรมโครงการ (CPA: CDM Programme Activity) และรวมหลายกิจกรรมโครงการ CPA นี้ภายใต้ PoA เดียวกัน เพื่อลดขั้นตอนและค่าใช้จ่ายบางส่วนลง โดยภาพรวมแล้ว โครงการ CDM PoA จะมีลักษณะเฉพาะดังนี้