กลไกลดก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas Mitigation Mechanism)

บทนิยาม

เรื่อง
รายละเอียด
ก๊าซเรือนกระจก ส่วนประกอบของก๊าซในบรรยากาศ ทั้งที่มีอยู่ในธรรมชาติและสร้างขึ้นโดยมนุษย์ ซึ่งสามารถดูดซับและปล่อยรังสีที่ความยาวคลื่นอยู่ในช่วงความถี่ของรังสีอินฟาเรด
ที่ถูกปล่อยออกมาจากพื้นผิวโลก ชั้นบรรยากาศ และก้อนเมฆ
ก๊าซเรือนกระจก ค่าศักยภาพในการ ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน
(Global Warming Potential: GWP)
ค่าศักยภาพของก๊าซเรือนกระจกในการทำให้โลกร้อน ซึ่งขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการแผ่รังสีความร้อนและอายุของก๊าซนั้นๆ ในบรรยากาศ โดยคิดเทียบกับการแผ่รังสีความร้อนของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
แหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจก แหล่งหรือกระบวนการที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศ
แหล่งดูดซับและกักเก็บ
ก๊าซเรือนกระจก
แหล่งหรือกระบวนการซึ่งก๊าซเรือนกระจกถูกดึงออกจากชั้นบรรยากาศ และกักเก็บอยู่ในองค์ประกอบทางกายภาพของชั้นชีวภาพ (Biosphere) 
ชั้นธรณีภาค (Geosphere) หรืออุทกภาค (Hydrosphere)
โครงการลดก๊าซเรือนกระจก
ภาคสมัครใจตามมาตรฐาน
ของประเทศไทย หรือ “โครงการ T-VER”
โครงการภายในประเทศไทย ที่ผู้พัฒนาโครงการดำเนินงานแบบสมัครใจ โดยมีเป้าหมายเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามมาตรฐานของประเทศไทย
ผู้พัฒนาโครงการ ผู้ดำเนินโครงการ และ/หรือ ผู้ร่วมโครงการ ที่มีความรับผิดชอบในโครงการ
และ/หรือ เป็นเจ้าของโครงการ
หน่วยงานกำกับดูแล องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) มีหน้าที่ในการดำเนินการขึ้นทะเบียนและบริหารจัดการโครงการ T-VER
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ในกรณีฐาน (baseline emission)

ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกรณีที่เป็นการดำเนินงานตามปกติ (Business-as-usual) หรือ ในกรณีที่ยังไม่ได้มีการดำเนินโครงการ
T-VER

วิธีการคำนวณปริมาณการปล่อย
ก๊าซเรือนกระจกในกรณีฐาน
(baseline methodology)
มาตรฐาน สมมติฐาน กระบวนการ และวิธีอื่นๆ ที่นำมาประยุกต์ใช้เพื่อคำนวณหาปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกรณีฐานของโครงการ T-VER
การติดตามผล (monitoring) กิจกรรมที่ผู้พัฒนาโครงการดำเนินการรวบรวมและบริหารจัดการข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระหว่างการดำเนินโครงการ T-VER ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ
การดำเนินงานเพิ่มเติมจากการ
ดำเนินงานตามปกติ (additionality)
การแสดงให้เห็นว่าโครงการมีการดำเนินการเพิ่มเติมจากการดำเนินงานตามปกติ (Not Business as Usual) ตามที่ อบก. กำหนด
ผลประโยชน์ร่วม (co-benefit) การได้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ พร้อมกับการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การเพิ่มงานและรายได้ให้กับชุมชน เป็นต้น
การรั่วไหล (Leakage) ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นภายนอกขอบเขตของโครงการ ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินโครงการ
ผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจ
(Validation and Verification
Body: VVB หรือ VB)
องค์กรหรือหน่วยงานที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจาก อบก. ให้เป็นผู้ประเมิน/ตรวจสอบ/ทวนสอบโครงการ โดยดำเนินการตามหลักเกณฑ์ของโครงการ T-VER
การตรวจสอบ
(validation)
กระบวนการที่ทำอย่างเป็นระบบ มีความเป็นอิสระ และบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ของโครงการ และวิธีการคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่บันทึกในเอกสารประกอบโครงการ (Project Design Document: PDD) ตามหลักเกณฑ์การตรวจสอบ (Validation) โครงการ T-VER
การทวนสอบ (verification) กระบวนการที่ทำอย่างเป็นระบบ มีความเป็นอิสระ และบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อประเมินรายงานปริมาณก๊าซเรือนกระจกตามหลักเกณฑ์การทวนสอบ (Verification) โครงการ T-VER