CDM

ลักษณะและประเภทของโครงการ CDM

โครงการ CDM แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่

1. โครงการ CDM ทั่วไป (Single project)

      โครงการ CDM ทั่วไปภายใต้พิธีสารเกียวโตได้ถูกกำหนดและแบ่งประเภท (Sectoral scope) ออกเป็น 16 ประเภทโครงการ มีดังนี้

2. โครงการ CDM ขนาดเล็ก และการควบรวมโครงการ (Bundling)

      โครงการ CDM ที่มีขนาดเล็ก มีข้อดีคือจะใช้ระเบียบที่ง่ายขึ้น เอกสารข้อเสนอโครงการที่ไม่ซับซ้อน มีวิธีการในการคำนวณการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกและการติดตามประเมินผลที่ง่ายขึ้น เสียค่าธรรมเนียมในการขึ้นทะเบียนต่ำกว่าโครงการปกติ อีกทั้งสามารถใช้หน่วยงานปฎิบัติการในการตรวจสอบ (DOE) รายเดียวกันในการตรวจสอบ การยืนยันและการรับรอง อย่างไรก็ตาม โครงการจะต้องเป็นไปตามที่กำหนดอย่างใดอย่างหนึ่ง

3. โครงการ CDM แบบแผนงาน (Programme of Activities : PoA)

      โครงการแบบ PoA นี้ถือเป็นแนวคิดโครงการ CDM ที่นำโครงการย่อยจำนวนหนึ่งหรือหลายโครงการก็ได้มารวมกันเป็นกิจกรรมโครงการ (CPA: CDM Programme Activity) และรวมหลายกิจกรรมโครงการ CPA นี้ภายใต้ PoA เดียวกัน เพื่อลดขั้นตอนและค่าใช้จ่ายบางส่วนลง โดยภาพรวมแล้ว โครงการ CDM PoA

อ่านเพิ่มเติม: ลักษณะและประเภทของโครงการ CDM

  • Hits: 10173

หลักการในการดำเนินโครงการ CDM

  1. ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จากโครงการ CDM นี้จะต้องได้รับการรับรอง (Certify) โดยหน่วยปฏิบัติการ (UNFCCC CDM-Executive Board, Designated Operational Entity: DOE และ Designated National Authority: DNA) ซึ่งแต่งตั้งโดย COP/MOP
  2. จะต้องเป็นการเข้าร่วมดำเนินการด้วยความสมัครใจ (Voluntary participation) โดยได้รับความเห็นชอบจากภาคีที่เกี่ยวข้อง รวมถึงความเห็นชอบของประเทศที่ตั้งโครงการ
  3. จะต้องก่อให้เกิดประโยชน์ที่แท้จริง ตรวจวัดได้ และเป็นประโยชน์ในระยะยาวที่จะบรรเทากับเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และจะต้องเป็นปริมาณที่ลดที่ได้เพิ่มเติม (Additionality) จากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกปกติในกรณีที่ไม่มีการดำเนินโครงการ CDM ที่ได้รับการรับรอง
  4. จะต้องเป็นโครงการที่มีการดำเนินการเพิ่มเติมจากธุรกิจปกติ (business as usual) ในด้านต่างๆ เช่น ด้านการเงิน (financial) การลงทุน (investment) เทคโนโลยี (technology) และสิ่งแวดล้อม (environment)
  5. จะต้องสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งเป็นประเทศภาคีที่ตั้งโครงการ
  6. กระบวนการต่างๆ จะต้องมีความโปร่งใส (Transparency) มีประสิทธิภาพ (Efficiency) และตรวจสอบได้ (Accountability) โดยผ่านการตรวจสอบ (auditing) และการตรวจพิสูจน์ (verification) อย่างมีอิสระ
  • Hits: 8671

CDM คืออะไร

      กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism) เรียกโดยย่อว่า CDM เป็นกลไกหนึ่งที่กำหนดขึ้นภายใต้พิธีสารเกียวโตเพื่อช่วยให้ประเทศอุตสาหกรรมซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มภาคผนวกที่ 1 (Annex I countries) สามารถบรรลุพันธกรณีในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในช่วงปี พ.ศ. 2551 – 2555 ให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี พ.ศ. 2533 ประมาณร้อยละ 5 โดยซื้อคาร์บอนเครดิตที่ได้จากการทำโครงการ CDM ในประเทศกลุ่มนอกภาคผนวกที่ 1 (Non-Annex I countries) ที่เรียกว่า Certified Emission Reduction หรือเรียกโดยย่อว่า CERs เพื่อนำไปหักลบปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ

อ่านเพิ่มเติม: CDM คืออะไร

  • Hits: 36062